กิจกรรม 17 พฤศจิกายน 2553

 
                               
      อธิบาย   ดาวศุกร์ เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 ชื่อละตินของดาวศุกร์ (Venus) มาจากเทพีแห่งความรักของโรมัน ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์หิน 
สังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยสามารถมองเห็นได้ทางขอบฟ้าด้านทิศตะวันตกในเวลาใกล้ค่ำ เราเรียกว่า "ดาวประจำเมือง" (Evening Star) ส่วนช่วงเช้ามืดปรากฏให้เห็นทางขอบฟ้าด้านทิศตะวันออกเรียกว่า "ดาวรุ่ง" (Morning Star) เรามักสังเกตเห็นดาวศุกร์มีแสงส่องสว่างมากเนื่องจาก ดาวศุกร์มีชั้นบรรยากาศที่ประกอบไปด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีผลทำให้อุณหภูมิพื้นผิวสูงขึ้น ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเองจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก ไม่มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวาร

        ตอบ  2 ดาวศุกร์

ดวงอาทิตย์รอบละ 225 วัน 1 ปี
            

            ไฮโดรเจนและฮีเลียม
     อธิบาย  ฮีเลียมที่มีอยู่ในเอกภพ มีมากเป็นอันดับสองรองจากไฮโดรเจน และมีปริมาณหนาแน่นในดาวฤกษ์ ซึ่งถูกสังเคราะห์ได้จากไฮโดรเจนนั่นเอง  ในชั่วเวลานับล้านๆ หรือพันๆล้านปี ที่ดวงดาวเฝ้าแต่เผาผลาญ ไฮโดรเจน ในแกนกลางนั้น ผลลัพท์ที่ได้ คือ ฮีเลียม ที่เกิดขึ้นมา ก็ไม่ไปไหน
  มีองค์ประกอบ เป็นธาตุไฮโดรเจนและฮีเลียม ไม่มีพื้นผิวแข็ง แต่มีแกนใจกลางขนาดเล็กเป็นหินแข็ง บรรยากาศมีอัตราส่วนเหมือนกันมาก กับบรรยากาศของดวงอาทิตย์ ใต้เส้นศูนย์สูตรไปทางซีกใต้ จุดนี้คือพายุหมุนวน ด้วยความเร็วสูงเป็นลักษณะเด่นที่ปรากฎเห็นมานานแล้ว
บรรยากาศของดาวพฤหัสบดีมีอุณหภูมิและความกดดันไม่แตกต่างไปจากที่มีอยู่ตามบริเวณผิวของโลก ซึ่งจะ คอยทำหน้าที่เสมือนป็น เรือนกระจกในการเก็บพลังงานจากดวงอาทิตย์ไว้ โดยจะปล่อยพลังงานออกไป ในอากาศเพียง เล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้นักดาราฃศาสตร์ยังได้พบโมเลกุลอินทรีย์ที่ซับซ้อนมากในบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี การเคลื่อนตัวของระบบเมฆ ที่ก่อให้เกิดการคายของประจุไฟฟ้า และการเกิดปฏิกริยาทางเคมีในบรรยากาศ ซึ่งเป็น แนวทางในการค้นหากระบวนการทำให้เกิดอินทรียชีวิต ในสภาพที่เป็นอยู่ในดาวพฤหัสบดี เพื่อหาหลักฐานให้แน่ชัดว่า ชีวิตเกิดขึ้นมาได้อย่างไรในจักรวาล เหมือนกับที่เกิดขึ้นมาแล้วในโลกของเรา การค้นพบที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง เกี่ยวกับ ดาวพฤหัสบดีก็คือ เมื่อยานวอยเอเจอร์ 1 ถ่ายภาพส่งมา พบว่า มีวงแหวนบางมาก 1 ชั้นล้อมรอบดาวพฤหัสบดีอยู่ ซึ่งสันนิษฐานว่าวงแหวนนี้คือก้อนน้ำแข็งและก้อนวัตถุใหญ่น้อยขนาดต่างๆกันล่องลอยอยู่รอบๆ ดาวพฤหัสบดี นอกจากนี้ภาพถ่ายจากยานวอยเอเจอร์ 1 และ 2 ก็พบว่า มีภูเขาไฟกำลังระเบิดอยู่บนดวงจันทร์บริวาร

          ตอบ 2 ไฮโดรเจนและฮีเลียม

         
 ตอบ 1 แคระดำ
             
  อธิบายดาวแคระดำ คือ สมมุติฐานว่าเป็นซากดาวซึ่งเกิดขึ้นจากการที่ดาวแคระขาวเย็นตัวลงมากพอที่จะไม่ปลดปล่อยความร้อนหรือแสงสว่างอย่างสำคัญ เนื่องจากเวลาที่ดาวแคระขาวจะมาถึงขั้นนี้ได้จากการคำนวณพบว่าจะต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่าอายุปัจจุบันของเอกภพ คือ 13,700 ล้านปี จึงไม่พบดาวแคระดำในเอกภพในขณะนี้ และอุณหภูมิของดาวแคระขาวที่ต่ำสุดก็มีข้อจำกัดในการสังเกตอายุของเอกภพ อย่างไรก็ตาม การยืดตัวของเวลาจากการเย็นตัวลงของดาวแคระอาจทำให้เกิดดาวแคระดำได้ ดาวแคระขาว คือ สิ่งที่เหลือจากดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักที่มีมวลน้อยหรือปานกลาง (ต่ำกว่าราว 9-10 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ หลังจากมันได้ขับหรือฟิวชั่นธาตุทั้งหมดเมื่อมันมีอุณหภูมิสูงพอ ดาวแคระขาวก็เป็นทรงกลมหนาแน่นของสสารเสื่อมอิเล็กตรอนที่เย็นตัวลงอย่างช้า ๆ โดยการแผ่รังสีความร้อน และจะกลายมาเป็นดาวแคระดำในที่สุด หากดาวแคระดำเกิดขึ้นจริง ดาวเหล่านี้ก็คงจะยากที่จะค้นหา เนื่องจากตามการจำกัดความ ดาวแคระดำมีการปลดปล่อยรังสีออกมาน้อยมาก มีทฤษฎีหนึ่งที่บอกว่ามันอาจถูกตรวจพบได้โดยอิทธิพลแรงโน้มถ่วงของมัน
เนื่องจากวิวัฒนาการในอนาคตอันไกลของดาวแคระขาวขึ้นอยู่กับคำถามทางฟิสิกส์ อย่างเช่น ธรรมชาติของสสารมืด และความเป็นไปได้และอัตราของการสลายอนุภาคโปรตอน ซึ่งยังเข้าใจอย่างจำกัด จึงไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าดาวแคระขาวจะใช้เวลาเท่าใดจึงจะเย็นตัวลงเป็นดาวแคระดำ § IIIE, IVA. บาร์รอว์และไทเพลอร์ประมาณว่าจะใช้เวลา 1015 ปีที่จะทำให้ดาวแคระขาวมีอุณหภูมิลดลงเหลือ 5,000 เคลวิน[6] อย่างไรก็ตาม หากอนุภาคมวลสูงที่ทำปฏิกิริยาแบบอ่อนมีอยู่จริง ก็มีความเป็นไปได้ที่ปฏิกิริยากับอนุภาคเหล่านี้จะทำให้ดาวแคระขาวบางดวงมีอุณหภูมิสูงกว่านี้เป็นเวลาอย่างน้อย 1025 ปี§ IIIE. หากโปรตอนไม่มีความเสถียร ดาวแคระขาวจะสามารถเก็บรักษาความร้อนได้โดยพลังงานที่ปลดปล่อยจากการสลายอนุภาคโปรตอน สำหรับข้อสันนิษฐานว่าช่วงชีวิตของโปรตอน คือ 1037 ปี อดัมส์และลาฟลินคำนวณว่าการสลายอนุภาคโปรตอนจะเพิ่มอุณหภูมิพื้นผิวของดาวแคระขาวมีอายุที่มีมวลเท่ากับดวงอาทิตย์ไปประมาณ 0.06 เคลวิน ถึงแม้ว่าจะไม่มาก แต่ก็เป็นที่คาดกันว่าจะเป็นอุณหภูมิที่สูงกว่ารังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาลจะมีในอีก 1037 ปีในอนาคต, §IVB.
ชื่อ "ดาวแคระดำ" ยังสามารถหมายถึงวัตถุกึ่งดาวที่ไม่มีมวลมากพอ (ต่ำกว่า 0.08 เท่าของมวลดวงอาทิตย์) เพื่อที่จะคงนิวเคลียร์ฟิวชั่นเผาผลาญไฮโดรเจนที่แกนกลาง วัตถุเหล่านี้เป็นที่รู้จักกันว่า ดาวแคระน้ำตาล คำที่ประดิษฐ์ขึ้นในคริสตทศวรรษ 1970

     

                    ตอบ 4 ดาว D มีอันดับความสว่าง-2

             สืบค้นข้อมูล
โชติมาตรปรากฏ (อังกฤษ: apparent magnitude, m) เป็นหน่วยวัดความสว่างของดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ หรือวัตถุท้องฟ้าอื่นในจักรวาล กล่าวอีกนัยหนึ่งคือปริมาณแสดงที่ได้รับจากวัตถุนั้น นิยามให้โชติมาตรปรากฏมีค่าเพิ่มขึ้น 5 หน่วยเมื่อความสว่างลดลงเหลือ 1 ใน 100 (นั่นคือเมื่อวัตถุเดียวกันแต่อยู่ไกลขึ้นเป็น 10 เท่า) หรือค่าโชติมาตรปรากฏเพิ่มขึ้น 1 หน่วยเมื่อความสว่างลดลง 2.512 เท่า โดยที่ 2.512 คือรากที่ห้าของ 100 (1000.2)
ปริมาณแสงที่รับได้ จริง ๆ แล้วจะขึ้นอยู่กับความหนาของชั้น
บรรยากาศในทิศทางการมองวัตถุ ดังนั้นโชติมาตรปรากฏจึงปรับค่าให้ได้ความสว่างเมื่อผู้สังเกตอยู่นอกชั้นบรรยากาศ ยิ่งวัตถุมีแสงจางเท่าไหร่ค่าโชติมาตรปรากฏก็ยิ่งมีค่ามากเท่านั้น
ระดับของโชติมาตรปรากฏ
โชติมาตรปรากฏวัตถุท้องฟ้า
−26.73ดวงอาทิตย์
−12.6ดวงจันทร์เต็มดวง
−4.4ความสว่างสูงสุดของ ดาวศุกร์
−2.8ความสว่างสูงสุดของ ดาวอังคาร
−1.5ดวงดาวที่สว่างที่สุดในย่านความยาวคลื่นที่ตามองเห็น: ดาวซิริอุส
−0.7ดวงดาวที่สว่างเป็นอันดับสอง: ดาวคาโนปัส
0ค่าศูนย์ เดิมเคยนิยามให้ใช้ค่าความสว่างของดาวเวกา
3.0ความสว่างน้อยสุดที่มองเห็นได้ในเมือง
6.0ความสว่างน้อยสุดที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
12.6ควอซาร์ที่สว่างที่สุด
27ความสว่างน้อยสุดที่มองเห็นได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาด 8 เมตรในย่านความยาวคลื่นที่ตามองเห็น
30ความสว่างน้อยสุดที่มองเห็นได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลในย่านความยาวคลื่นที่ตามองเห็น
38ความสว่างน้อยสุดที่มองเห็นได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์ OWL (อนาคตปี ค.ศ. 2020) ในย่านความยาวคลื่นที่ตามองเห็น
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%8A%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%8F
     
                   ตอบ 1 ระยะทางที่แสงใช้เวลาเดินทาง 1 ปี

                           

                  
        อธิบาย  ปีแสง คือ หน่วยของระยะทางในทางดาราศาสตร์ 1 ปีแสง เท่ากับระยะทางที่แสงเดินทางในเวลา 1 ปี จากอัตราเร็วแสงที่มีค่า 299,792.458 กิโลเมตร/วินาที ระยะทาง 1 ปีแสงจึงมีค่าประมาณ 9.4607×1012 กิโลเมตร = 63,241.077 หน่วยดาราศาสตร์ = 0.30660 พาร์เซก เนื่องจากเอกภพมีขนาดมหึมา แสงจากวัตถุท้องฟ้าที่อยู่ไกลจึงใช้เวลาหลายปีกว่าจะเดินทางมาถึงเรา นั่นหมายความว่าเราเห็นอดีตของวัตถุนั้นอยู่ตลอดเวลา
ปีแสงใช้เพื่อวัดระยะทางระหว่างดาราจักร และไม่ใช่หน่วยวัดเวลา หนึ่งปีแสงมีค่าที่แน่นอนโดยใช้ตัวเลขปีจูเลียน (365.25 วัน) มาคำนวณซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล[1] คือ 9,460,730,472,580.8 กิโลเมตร
ที่มา  th.wikipedia.org/wiki/ปีแสง

    
               ตอบ 2 การระเบิดซูเปอร์โนวา

                

                       

          อธิบาย  ซูเปอร์โนวา หรือ มหานวดารา เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ระเบิดที่มีพลังมากที่สุดที่รู้จัก นั่นคือเป็นการระเบิดของดาวฤกษ์มวลมากเมื่อสิ้นอายุไขแล้ว จะเปล่งแสงสว่างมหาศาลและระเบิดออกรัศมีสว่างวาบเป็นรัศมีเพียงชั่วครู่ ก่อนจะเลือนจางลงในเวลาสัปดาห์หรือเดือนเท่านั้น
ระหว่างช่วงเวลาสั้นๆ ที่เกิดซูเปอร์โนวานี้ มันจะปลดปล่อยพลังงานมหาศาลขนาดเท่ากับพลังงานของดวงอาทิตย์ดวงหนึ่งสามารถปลดปล่อยได้ทั้งชีวิตทีเดียว การระเบิดจะขับไล่ดวงดาวและวัตถุต่างๆ ที่อยู่ใกล้ให้กระเด็นออกไปไกลด้วยความเร็วแสง และเกิดคลื่นกระแทกแผ่ออกไปโดยรอบตรงช่องว่างระหว่างดวงดาว การกระแทกนี้ได้กวาดเหล่าแก๊สและฝุ่นละอองออกไปอย่างรวดเร็ว เรียกปรากฏการณ์นี้ว่าการเกิดซากซูเปอร์โนวา
แต่ละประเภทของซูเปอร์โนวา ที่ยังปรากฏให้เห็นอยู่ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ซึ่งเกิดพลังงานที่เกิดจากนิวเคลียร์ฟิวชัน หลังจากแกนกลางของดาวมีอายุมวลมากเข้าสู่ความตาย และเริ่มสร้างพลังงานจากนิวเคลียร์ฟิวชัน อยู่ภายใต้แรงโน้มถ่วงที่จะนำไปสู่การยุบตัวของดวงดาว จนอาจกลายเป็นดาวนิวตรอนหรือไม่ก็หลุมดำ การปลดปล่อยพลังงานศักย์โน้มถ่วง ทำให้เกิดทั้งความร้อนและสาดผิวชั้นนอกของดวงดาวให้กระเด็นออกไป ในทางกลับกัน ดาวแคระขาวอาจสะสมเพิ่มพูนสสารจนเพียงพอจากดาวข้างเคียงกัน หรือที่เรียกว่าระบบดาวคู่(binary star system) เป็นการเพิ่มอุณหภูมิแกนกลางจนกระทั่งเกิดฟิวชันถึงระดับของธาตุคาร์บอน แกนกลางของดาวฤกษ์ที่ร้อนระอุซึ่งอยู่ในสภาวะยุบตัวเนื่องจากมีมวลเกินค่าขีดจำกัดของจันทรเศกขาร ( Chandrasekhar limit) ซึ่งมีค่าประมาณ 1.38 เท่าของดวงอาทิตย์ เกิดเป็นซูเปอร์โนวาประเภท T1 (Type I Supernovae) แต่ว่าดาวแคระขาวจะแตกต่างตรงที่มีการระเบิดที่เล็กกว่าโดยใช้เชื้อเพลิงจากไฮโดรเจนที่ผิวของมัน เรียกว่า โนวาดาวที่มีมวลน้อย (ประมาณไม่ถึงเก้าเท่าของดวงอาทิตย์) เช่นดวงอาทิตย์ของเรา จะวิวัฒน์ไปเป็นดาวแคระขาวโดยปราศจากการเกิดซูเปอร์โนวา
         ที่มาซูเปอร์โนวา - วิกิพีเดีย 

    
                 ตอบ 2 มีสีแดง

       
               ตอบ 3  6.25

              สืบค้นข้อมูล


ความสว่างของดาวฤกษ์
 ความสว่างของดาวฤกษ์บอกได้จากตัวเลขที่ไม่มีหน่วยที่เรียกว่า อันดับความสว่าง หรือ แมกนิจูด ( Magnitude ) ของดาวที่มีอันดับความสว่างต่างกัน 1 จะสว่าสงมากกว่ากัน 2 เท่าครึ่ง ดดยอันดับความสว่างทีีเป็นบวกหรือตัวเลขมาก ๆ จะมีความสว่างน้อย ๆ เช่นดาวที่มีอันดับความสว่าง - 1 จะมีความสว่างมากกว่าดาวฤกษ์ที่มีความสว่าง 1

เริ่มจาก ความสว่างกัน 100 เท่า แมกนิจูดต่างกัน 5 เท่า

แมกนิจูดต่างกัน 1 ความสว่างต่างกัน 2.5 เท่า

แมกนิจูดต่างกัน 2 ความสว่างต่างกัน 2.5 ยกกำลัง2 = 6.25

5 5 = 100
magnitude m=-2.5 logf

ถ้า ความสว่างมาก f มีค่ามาก m ก็จะติดลบและมีค่ามาก

ผลต่างแมกนิจูด = -2.5 ความสว่างต่างกันกี่เท่า

-3.5--1.5 = 2.5 ยกกำลัง 2 = 6.25
     

3 ความคิดเห็น: